การขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

1 พ.ค. 2566
          ในการสร้างบ้านหนึ่งหลัง นอกจากต้องเตรียมเงินแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ขาดไม่ได้ก็คงเป็นเรื่องเอกสารการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานานจนทำให้หลายคนมองข้ามไป แต่ตามกฏหมายแล้ว หากบ้านอยู่ในเขตควบคุมอาคาร ผู้สร้างจำเป็นต้องดำเนินเรื่องและยื่นเอกสารเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบถึงความปลอดภัยของตัวบ้านและอาคารว่าจะส่งผลกระทบอะไรหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของเรารวมถึงเพื่อนบ้านที่อยู่รอบตัวเรานั้นเอง

  

ทำไมต้องยื่นขอขออนุญาตก่อสร้างบ้าน?


          คำตอบก็คือ เพื่อความปลอดภัย โดยให้การก่อสร้างอยู่ภายใต้กรอบที่กฏหมายกำหนดไว้ เช่น ความแข็งแรงของโครงสร้าง ระยะร่นจากถนน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเพื่อไม่ให้บ้านของเราไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นที่อาศัยอยู่รอบๆ และหากการก่อสร้างทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ก็สามารถยื่นร้องเรียนได้เช่นเดียวกัน


เอกสารที่ต้องใช้


          เจ้าบ้านต้องเตรียมเอกสารทุกอย่างให้พร้อมก่อนเข้าไปยื่นขออนุญาตจากสำนักงานเขตพื้นที่ เพราะหากเตรียมเอกสารไปไม่ครบ อาจจะส่งผลต่อการพิจารณาได้ เอกสารที่ต้องเตรียมได้แก่


1. สำเนาทะเบียนบ้าน / บัตรประจำตัวประชาชน (ของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดินลงนามสำเนาถูกต้อง)


2. สำเนาโฉนดที่ดิน (เจ้าของลงนามสำเนาถูกต้อง)


3. คำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร (ข.1)


4. รูปแผนที่สังเขป


5. ผังบริเวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน


6. รายการคำนวณทางวิศวกรรม 1 ชุด (ในกรณีที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่)


7.หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม (น.4)


8.หนังสือรับรองผู้ออกแบบจากสถาปนิก


9.ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมผู้ควบคุมงาน


10.ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้าง


11.เอกสารรับรองจากวิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง


12.หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)


13.หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดแนวเขตที่ดิน)


14.เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)


ขั้นตอนการขอใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน – อาคาร


1. รวบรวมเอกสารให้ครบถ้วน และเขียนคำร้อง(ข.1) ยื่นต่อพนักงานประจำสำนักงานเขตในพื้นที่ของสิ่งปลูกสร้าง


2. เจ้าพนักงานประจำสำนักงานเขตจะตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง บ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้านก่อน และจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น


3. ผู้ยื่นคำร้องได้รับใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน กรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต อาจจะต้องมีการแก้ไขรายละเอียดบางส่วน ผู้ยื่นจะต้องไปดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง และนำเอกสารมายื่นต่อเจ้าพนักงานใหม่อีกครั้ง


4. เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ควรทำสำเนาทั้งเก็บไว้ที่ตัวเอง สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา เพื่อดำเนินการก่อสร้างบ้านต่อไป


การต่อเติมบ้านต้องขออนุญาตหรือไม่ ?


          การต่อเติมบ้านเองก็ต้องขออนุญาตเช่นกัน เพราะการต่อเติมบ้านไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ย่อมเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ้านอย่างช่วยไม่ได้ การขออนุญาตอย่างถูกวิธีจะทำให้มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยประเมินความปลอดภัยในด้านต่างๆ และทำให้การต่อเติมเป็นไปอย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


          การต่อเติมบ้านที่ต้องขออนุญาตจะเป็นการต่อเติมบ้านในโครงการที่เกินกว่า 5 ตารางเมตร เพราะหากไม่ไปอยุญาตอย่างถูกต้อง หากเกิดปัญหาขึ้นกับชุมชนอาจจะกลายเป็นความผืดร้ายแรงได้ ทั้งนี้ก้มีการต่อเติบางประเภทที่สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตได้แก่


- การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคาหรือของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใด รวมกันไม่เกิน 5 ตาราง


- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุที่มีขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม


- การเปลี่ยนส่วนต่าง ๆ ของบ้านที่ไม่ใช่โครงสร้าง โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุอื่นซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างบ้านเดิมเกิน 10%


- การเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือการขยายเนื้อที่ภายในบ้าน ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างบ้านเดิมเกิน 10%


          เหล่านี้คือเกล็ดความรู้เรื่องกฏหมายการขออนุญาตสร้างและต่อเติบ้าน แม้จะดูยุ่งยาก แต่หากดำเนินการทุกอย่างถูกต้อง เตรียมเอกสารให้พร้อม เชื่อว่าการขออนุญาตก่อสร้างบ้านจะดำเนินการได้อย่าวราบรื่น ถูกต้อง และปลอดภัยสบายใจอย่างแน่นอน


เรื่องราวที่ใกล้เคียง

ข้อมูลบริษัท
บริษัท บีเคเค เรียลตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
525/89 ซอยลาดพร้าว 126 (กรัณฑ์พร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
020759855 ,0983029898
Info.assetfinding@gmail.com